วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีแห่นางแมว




         สังคมไทยเป็นสงคมที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นสังคมเกษตรกรรมจึงมีความสัมพันธ์กับฝน เนื่องจากฝนเป็นปัจจัยแห่งความอุดมสมบูรณ์ และในสังคมชาวนามีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและมีการพึ่งพิงธรรมชาติ ดังนั้น หากปีใดที่ฝนแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวนาก็ไม่มีน้ำที่จะทำนา จึงทำให้เกิดพิธีกรรมที่เรีกว่า การแห่นางแมว ซึ่งเป็นวิธีขอฝนโดยมีความเชื่อว่าถ้าประกอบพิธีแล้วจะช่วยให้ฝนตกได้


     ในพิธีจะมีการนำแมวมาใส่ชะลอมแล้วมัดชะลอมให้แน่นและตกแต่งชะลอมให้สวยงาม มัดชะลอมให้แน่นใส่คานหาม แล้วพากันแห่ไปรอบหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีขบวนกลองยาว คอยให้จังหวะเป็นที่ครื้นเครง และมีการร้องเพลง แห่นางแมวไปด้วย เมื่อขบวนแห่หยุดแวะหรือผ่านหน้าบ้านใครเจ้าของบ้านจะเอาน้ำสาดรดแมว พร้อมทั้งให้ข้าวปลาอาหาร เหล้าและอื่นๆ แต่ก่อน จะสาดน้ำจะมีการเอาสัญลักษณ์เพศชายไล่ทิ่มชาวบ้านที่ยืนดูขบวนเป็นการหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน และเมื่อแห่จนหมดเขตของหมู่บ้านแล้วก็จะนำของกินมาเลี้ยงกัน หรืออาจจะแห่ต่อไปเรื่อยๆ จากเช้าถึงค่ำหรืออาจจะเลยเวลาไปก็ได้


          พิธีกรรมแห่นางแมวไม่ได้บ่งบอกถึงเพียงความเชื่อของคนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้นแต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชุมชนที่ร่วมมือกันอีกทั้งยังช่วยให้คนในชุมชนได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งทำให้เกิดการสังสรรค์ ซึ่งสามารถช่วยให้ชุมชนชาวนามีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น