ประวัติ / ความเป็นมา
ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย
ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน
เรียกว่า พวก "ส่วย"
ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า
เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป
ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน
ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง
เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น
การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"
ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม
จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง
ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย)
อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์
และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย
ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง
เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ
ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด
โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย
เพื่อนำไปลากไม้ในป่า
กิจกรรม / พิธี
การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ
การโพนช้าง และการฝึกช้างป่า ช้างทำงาน และการละเล่นของช้าง
ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้างแข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ
ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงาม และการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ
การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด
การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกันถ้วนหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น