วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประวัติส่วนตัว นางสาวหนึ่งฤทัย นิลแก้ว






ชื่อ  นางสาวหนึ่งฤทัย    นิลแก้ว     ชื่อเล่น    อ้อม
ที่อยู่   28  หมู่  9  ตำบล อู่โลก   อำเภอ ลำดวน   จังหวัดสุรินทร์  32220
เกิดวันที่  2  ธันวาคม  2536
อายุ   21 ปี 
มือถือ  0881063539
กำลังศึกษาอยู่ที่   มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์    บธ.บ 4  ปี   ชั้นปีที่  3
งานอดิเรก   ชอบปลูกดอกไม้
ดอกไม้ที่ชอบ   ดอกกุหลาบ
อาหารที่ชอบ    ส้มตำ
สีที่ชอบ   สีแดงและม่วง
E-mail    lovelike-green@hotmail.com
 บิดา  นายบรรจง   จันทร์แก้ว              อายุ   60      ปี          อาชีพ   ทำนา      
มารดา นางประสพ  จันทร์แก้ว             อายุ    56     ปี         อาชีพ    ทำนา
มีพี่น้อง  2  คน  1  นางสาวหนึ่งฤทัย    นิลแก้ว     อายุ   21  ปี  อาชีพ กำลังศึกษาอยู่   มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
                         2  นายธนาธิป        จันทร์แก้ว       อายุ    19  ปี    อาชีพ ทำงาน

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีลอยกระทง


ประวัติความเป็นมา
          
 คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
          1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
          2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
          3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
         4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
        5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
        6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก

       7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล  
             


ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย

          การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา

งานช้างสุรินทร์


ประวัติ / ความเป็นมา

          ในสมัยโบราณในแถบพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ มีช้างอาศัยอยู่มากมาย ขณะเดียวกันจังหวัดสุรินทร์ก็มีชาวพื้นเมืองที่มีความชำนาญในการจับช้างป่ามาฝึกหัดทำงาน เรียกว่า พวก "ส่วย"  ชาวส่วยเป็นชาวพื้นเมืองที่กล่าวกันว่า เป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ได้อพยพมาจากเมืองอัตขันแสนแป ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองจำปาศักดิ์ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเหล่านี้เป็นเผ่าที่ชอบเลี้ยงช้าง เป็นผู้ริเริ่มในการจับช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานและเป็นพาหนะเดินทางขนส่งในท้องถิ่น การไปจับช้างในป่าลึกโดยใช้ช้างต่อ เรียกว่า "โพนช้าง"


 

     ที่หมู่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ชาวส่วยกลุ่มนี้ได้เข้าไปอยู่บนเนิน เขตรอยต่อระหว่าง ดงสายทอและดงรูดินใกล้ๆ กับบริเวณที่ลำน้ำชี้ (ชีน้อย) อันเป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ และลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน โดยสภาพพื้นที่ดังกล่าวในอดีตได้ตัดขาดจากโลกภายนอกเกือบสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้การผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมอื่นจึงมีน้อย ชาวส่วยเกือบทั้งหมดในเขตพื้นที่นี้ ยังมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงช้าง เป็นอาชีพหลักที่สำคัญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษในสมัยโบราณ ซึ่งไม่อาจสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยใด โดยชาวส่วยเหล่านี้จะพากันออกไปจับช้างในเขตประเทศกัมพูชามาฝึกให้สามารถใช้งานได้แล้วขายให้กับพ่อค้าจากภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อนำไปลากไม้ในป่า


กิจกรรม / พิธี 
          การแสดงของช้างมีด้วยกันทั้งหมด 8 ฉาก อาทิเช่น ชุดโขลงช้าง พิธีเซ่นผีปะกำ การโพนช้าง และการฝึกช้างป่า ช้างทำงาน และการละเล่นของช้าง ประเพณีวัฒนธรรมของส่วยหรือชนชาวกุย ขบวนช้างแห่นาค ช้างแข่งขันกีฬา ช้างเตะตะกร้อ ช้างชกมวย การประกวดช้างสวยงาม และการแสดงของช้างอื่นๆ อีกมากมาย  นอกจากการแสดงของช้างแล้วยังมีการจัดนิทรรศการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การประกวดของดีเมืองสุรินทร์ การออกสลากกาชาด การออกร้านงานช้างแฟร์ ทำให้ผู้ร่วมงานครั้งนี้สนุกสนานกันถ้วนหน้า




ลายผ้าไหม 9 ชนิด



ผ้าไหมโฮลลีธรรมชาติ
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์

        เป็นผ้าไหมที่ทอจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  เป็นผ้าไหมลายดั้งเดิม  เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์  ย้อมด้วยสีธรรมชาติ  มีความประณีตสวยงาม  นุ่ม ลื่น  สวมใส่สบาย



ผ้าไหมมัดหมี่เชิงแดงลูกแก้ว 
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์

         เป็นผ้าที่แกะรูปแบบจากการแต่งกายของชาวสุรินทร์ในพิธีรำสาก วึ่งถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมของชาวสุรินทร์มาช้านาน  ผ้านุ่งที่ใช้แต่งนั้นเป็นผ้าไหมมัดหมี่ทีมีการต่อเชิงบน ที่เรียกว่าการ ปะโบว์ และต่อเชิงล่าง เรียกว่า มัดหมี่เชิง ผ้าไหมที่ใช้ในการผลิต เรียกว่าไหมน้อย  พลิ้วไหว อ่อนนุ่ม  อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษของไหมสุรินทร์  




 ผ้าไหมราชวัตร
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์

        ผ้าไหมราชวัตร เป็นผ้าไหมที่สืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ  ลายผ้าหลากหลาย สีสันสวยงาม   ผ้าไหมราชวัตร เป็นผ้าซึ่งมีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ยกขึ้นจากผืนผ้า ปัจจุบันนิยมใช้ในชีวิตประจำวัน โดยนำมาเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปและเป็นผ้าสำหรับไหว้ญาติผู้ใหญ่ในพิธีมงคลต่างๆ และเป็นของฝาก ของขวัญได้




 ผ้าโสร่งหางกระรอก
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์

        โสร่งหางกระรอกบ้านประทุน ตำบลแตล มีการสืบทอดการทอผ้าลายโสร่งหางกระรอกมายาวนาน  แต่เดิมเพื่อผลิตใช้ในครัวเรือนและใช้รับไหว้งานแต่ง โดยเฉพาะสตรีที่ออกเรือน ต้องทอผ้าโสร่งหางกระรอกเอง เพื่อรับไหว้ในพ่อแม่และญาติพี่น้องฝ่ายชายเป็นการตอบแทนคำสินสอดที่มาสู่ขอ



 ผ้ายกลายราชวัตร
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์

         ผ้าไหมยกดอกลายราชวัตร  เป็นผ้าไหมที่ทอโดยสืบทอดมาจากบรรพบุรุษและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นตอนหลังมีการพัฒนาและประยุกต์ลวดลายต่างๆ ปัจจุบันมีการทอผ้าลายราชวัตรโดยใช้สีธรรมชาติและสีเคมี  การย้อมสีธรรมชาตินั้นให้เปลือกไม้มาย้อมเป็นสีต่างและเป็นที่ต้องการของตลาด



ผ้าไหมยกดอก
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์
         ผ้ายกดอกลวดลายสวยงาม เป็นการทำลายโดยเก็บตะกอ โดยลายจะนูนขึ้นมาเหนือผ้า ผ้ายกเป็นที่มีคุณค่ามากเป็นผ้าชั้นสูงที่เหมาะสำหรับสวมใส่ออกงานพิธีสำคัญต่างๆ
มีตะกอ  ตั้ง  10-60  ตะกอ

ผ้ายกดอกมีความสวยงาม  เนื้อแน่น  สม่ำเสมอ ใช้ไหมคุณภาพดี




ผ้าไหมลายสัปปะรด
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์
         ลายสัปปะรด  เป็นลายที่ชาวบ้านประยุกต์ลายมาจากลูกสัปปะรด ผ้าไหมลายสัปปะรดมีลักษณะดังนี้
        -ทอจากไหมแท้ 100 เปอร์เซนต์
        -ลวดลายละเอียดอ่อน  สวยงาม ผู้สวมใส่รู้สึกสบาย  สง่างาม มีเสน่ห์นุ่มนวล

        -เนื้อผ้าเป็นมัน  เหนียว ยืดหยุ่นตัวดี  ดูดซับความชื้น สวมใส่สบายเนื่องจากมีความชื้นในตัวเอง




ผ้าไหมมัดหมี่ ลายโฮลเปราะห์
ประวัติเรื่องราวผลิตภัณฑ์

          ผ้าไหมมัดหมี่ ลายโฮลเปราะห์  เป็นผลิตภัณฑ์ที่รังสรรค์ขึ้นด้วยจากภูมิปัญญาท้องถิ่นจากลายโฮล(โฮลสตรี) เติมสู่ลายโฮลเปราะห์(โฮลบุรุษ) เป็นผืนผ้าที่รวมความประณีตด้วยลวดลายอันวิจิตร  ใช้ทักษะขั้นสูงของการมัดย้อมไหมที่ละเอียดและสีสันสวยงามโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์นิยมใช้นุ่งห่มในงานบุญประเพณีที่สำคัญ








ผ้าไหมยกดอก
      ประวัติเรื่งราวผลิตภัณฑ์

         เป็นการทอผ้าด้วยมือ มีลวดลายสวยงามสะดุตา เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ทีดีงามของคนไทยจึงจำเป็นต้องรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นหลังที่ได้สืบทอดต่อเจตนารมณ์ต่อไป

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ






  ขวัญ หมายถึง นามธรรมอันหนึ่งคล้ายพลังจิตที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่เป็นเด็กทารก มีความเชื่อว่าถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัวผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจแต่ถ้าขวัญของผู้ใดหายไปนั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้ามพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญจะช่วยทำให้ขวัญมั่นคงและมีพลังใจเข้มแข็ง

         
    
     การบายศรีสู่ขวัญ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลทำพิธี เพื่อเรียกขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว ให้ขวัญเป็นเหมือนผู้ที่คอยดูแลความปลอดภัยการบายศรีสู่ขวัญ จัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะจัดในงานมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ บวช แต่งงาน งานต้อนรับ งานเลื่อนยศ การย้ายที่ เป็นต้น

      พิธีบายศรีสู่ขวัญ เริ่มโดยการแห่เป็นขบวนแล้วนำพานบายศรีมาตั้งบนโต๊ะ หรือตั่งที่ปูผ้าขาว จากนั้นพราหมณ์จะเป็นผู้สวดชุมนุมเทวดาจุดเทียน เวียนหัว หลังจากนั้นจะจุดธูป กราบพระพุทธรูป พระสงฆ์ ผู้สวดจะเชิญขวัญ และให้เจ้าของขวัญจับพานขวัญ ส่วนคู่สู่ขวัญเอามือขวาจับด้ายสายสิญจน์ ผู้สวดอวยพร ผูกข้อมือเป็นอันว่าเสร็จพิธีการ

ประเพณีแห่นางแมว




         สังคมไทยเป็นสงคมที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นสังคมเกษตรกรรมจึงมีความสัมพันธ์กับฝน เนื่องจากฝนเป็นปัจจัยแห่งความอุดมสมบูรณ์ และในสังคมชาวนามีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติและมีการพึ่งพิงธรรมชาติ ดังนั้น หากปีใดที่ฝนแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวนาก็ไม่มีน้ำที่จะทำนา จึงทำให้เกิดพิธีกรรมที่เรีกว่า การแห่นางแมว ซึ่งเป็นวิธีขอฝนโดยมีความเชื่อว่าถ้าประกอบพิธีแล้วจะช่วยให้ฝนตกได้


     ในพิธีจะมีการนำแมวมาใส่ชะลอมแล้วมัดชะลอมให้แน่นและตกแต่งชะลอมให้สวยงาม มัดชะลอมให้แน่นใส่คานหาม แล้วพากันแห่ไปรอบหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีขบวนกลองยาว คอยให้จังหวะเป็นที่ครื้นเครง และมีการร้องเพลง แห่นางแมวไปด้วย เมื่อขบวนแห่หยุดแวะหรือผ่านหน้าบ้านใครเจ้าของบ้านจะเอาน้ำสาดรดแมว พร้อมทั้งให้ข้าวปลาอาหาร เหล้าและอื่นๆ แต่ก่อน จะสาดน้ำจะมีการเอาสัญลักษณ์เพศชายไล่ทิ่มชาวบ้านที่ยืนดูขบวนเป็นการหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน และเมื่อแห่จนหมดเขตของหมู่บ้านแล้วก็จะนำของกินมาเลี้ยงกัน หรืออาจจะแห่ต่อไปเรื่อยๆ จากเช้าถึงค่ำหรืออาจจะเลยเวลาไปก็ได้


          พิธีกรรมแห่นางแมวไม่ได้บ่งบอกถึงเพียงความเชื่อของคนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเท่านั้นแต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชุมชนที่ร่วมมือกันอีกทั้งยังช่วยให้คนในชุมชนได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งทำให้เกิดการสังสรรค์ ซึ่งสามารถช่วยให้ชุมชนชาวนามีความเป็นปึกแผ่นมากขึ้นด้วย

ประเพณีเกี่ยวข้าว



ลงแขก หมายถึง บอกแขกหลายคนช่วยกันทำการ

          ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว หมายถึง การที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให้รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตนเพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาวเป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้
           


      ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวนี้เป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจของคนไทยที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้านได้อีกด้วย นอกจากนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรมและการขับร้องเพลงอันเป็นเอกลักษณ์อย่าง หนึ่งของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม      




      ลงแขก เป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกู้กันของสังคมคนในอดีต ที่นับว่าจะสูญหายไปเนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนด

วันออกพรรษา


        วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะทำสังฆกรรมปวารณาออกพรรษาในวันนี้ วันออกพรรษาตามปกติ (ออกปุริมพรรษา1) จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย



            ความสำคัญ

           วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า "ปวารณา" แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย




ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ


      เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกหลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่ในดาวดึงส์พิภพถ้วนไตรมาสและการตรัสอภิธรรมเทศนาโปรดพระมารดาในเทวโลกนั้นมาตลอดเวลา3เดือนพออออกพรรษาแล้วก็เสด็จมายังโลกมนุษย์โดยเสด็จมาทางบันไดสวรรค์ที่ประตูเมืองสังกัสนคร อันตั้งอยู่เหนือกรุงสาวัตถี วันที่เสด็จลงจากเทวโลกนั้นเรียกกันว่า วันเทโวโรหณะ ตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน 11 วัน

วันเข้าพรรษา



           วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย


ความสำคัญ
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
     1.ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
      2.หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
      3.เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
       4.เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

       5.เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์

การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ


         ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

แซนโฎนตา



         เมื่อก่อนใครจะมารับราชการที่ขุขันธ์ ต้องนำหม้อกับผ้าขาวติดตัวมาด้วย เอาไว้ใส่กระดูกกลับบ้าน เพราะมันกันดาร
        เป็นคำกล่าวถึง อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ในอดีต ... แม้ปัจจุบันเอง เชื่อว่าชื่อนี้คงไม่เคยผ่านหูผ่านตาใครอีกหลาย ๆ คน แต่โบราณบริเวณแถบนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนชาวกวยและเขมร ซึ่งเรียกรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนสำคัญคือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ตากะจะ หัวหน้าชุมชน ทำความดีความชอบตามจับพญาช้างเผือก จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงแก้วสุวรรณ ก่อนจะยกฐานะบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ในกาลต่อมา และหลวงแก้วสุวรรณได้เลื่อนเป็น พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก 

     แซนโฎนตา เปรียบได้กับ บุญสารท ของคนไทย ภาษาเขมรเรียก บนผจุมเบ็ญ แห่บายตะเบิ๊ดตะโบร หรือบุญเดือน 10 ซึ่งเป็นการทำบุญประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ ซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่สมัยขอมโบราณ เพื่ออุทิศกุศลบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ซึ่งอยู่รับโทษตามอกุศลกรรมที่ทำไว้ในอบายภูมิ เชื่อว่าในรอบ 1 ปี จะได้รับโอกาสให้ขึ้นไปรับบุญกุศลจากลูกหลานญาติพี่น้องได้ 1 ครั้ง ในเดือน 10 ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำ ซึ่งลูกหลานจะได้เตรียมสำรับอาหารข้าวต้มขนมหวาน ผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้หลายอย่าง รอคอยอยู่ที่บ้าน



           วันแรม 13 ค่ำ ลูกหลานจะทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียมเครื่องสักการะ เช่น ข้าวตอก ดอกไม้ น้ำอบน้ำหอม เครื่องนุ่งห่มสวยงาม ไปจนกระทั่งแก้วแหวนเงินทองของมีค่า ไว้ให้โดนตาสวมใส่ ส่วนเครื่องเซ่นไหว้ก็จะเป็นอาหารหวานคาว พืชผักผลไม้ ข้ามต้มขนมหลายอย่างซึ่งขาดไม่ได้ เช่น ข้าวต้มหมู, ข้าวต้มกล้วย, ข้าวต้มด่าง ลักษณะเหมือนบ๊ะจ่างไม่ไม่เครื่อง, ข้าวต้มมะพร้าว ใช้กะทิสดคลุกข้าวสารเหนียวที่แช่น้ำพอนิ่ม เคล้าเกลือแล้วห่อด้วยใบมะพร้าว, ขนมเทียน, ขนมเข่ง, กระยาสารท ใส่กระทงพุ่มแหลม ทำกรวยใบตองครอบปักไข่ต้มไว้บนยอด ฯลฯ

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

การเลี้ยงหมอนไหม

เมื่อเกิดเป็นหนอนไหม ขึ้นมาแล้ว ก็เอาใส่ไว้ในกระด้งแบบนี้ค่ะ

อุปกรณ์การเลี้ยงไหม

      ในการเลี้ยงไหม เกษตรกรจะต้องจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเลี้ยงไหมไว้ให้พร้อมและมีจำนวนที่เหมาะสมกับ แผนการเลี้ยงไหม ได้แก่ โต๊ะเลี้ยงหรือกระด้งเลี้ยงไหม ตาข่ายถ่ายมูลไหมทั้งวัยอ่อนและวัยแก่ ตะกร้าเก็บใบหม่อน จ่อ มีด เขียง ตะแกรงร่อนยา ขนไก่ ตะเกียบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ในการฉีดพ่นสารเคมีอบฆ่าเชื้อโรค เช่น เครื่องพ่นสารเคมี หน้ากาก ซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีไว้เพื่อการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่น


การเลี้ยงตัวไหมในกระด้งหรือกระบะ เป็นวิธีที่ปฏิบัติมาดั้งเดิม


    
     
การเลี้ยงไหมของเกษตรกรแต่ดั้งเดิมมีการปฏิบัติกันไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยจะทำการเลี้ยงไหมในกระด้ง ตั้งไว้บนบ้านแล้วใช้ผ้าคลุมกระด้ง จึงทำให้การเลี้ยงไหมไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากสภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตของหนอนไหม การป้องกันกำจัดโรคไม่สามารถทำได้ เกษตรกรขาดแคลนเทคโนโลยีแผนใหม่



   
หลายขั้นตอนเริ่มจาก "หนอนไหม" กว่าจะมาเป็น "ผ้าไหมแพรวา"
    
    

   

     ขาดแคลนเทคโนโลยีแผนใหม่ ดังนั้นการพัฒนาเทคนิควิธีการเลี้ยงไหมที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการและถ่ายทอด สู่เกษตรกร เช่น การเลี้ยงไหมในห้องเลี้ยงไหมที่ถูกลักษณะ มีการถ่ายเทอากาศดี และแยกออกจากบ้านที่อยู่อาศัย สามารถทำการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดเชื้อโรคได้ทั้งในห้องเลี้ยงไหมและวัสดุต่าง ๆ




การสาวไหม


  
 
      ที่ใช้ในการเลี้ยงไหม นอกจากนี้ การส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรได้รู้จักคุ้นเคยกับพันธุ์ไหมและพันธุ์หม่อนพันธุ์ดีที่ปลอดโรคให้ผลผลิตสูงนั้นเป็นสิ่ง จำเป็นที่จะต้องดำเนินการ เพราะการปลูกหม่อนพันธุ์ดีเพื่อใช้เลี้ยงไหมก็เท่ากับประสบผลสำเร็จไปแล้วกว่า 30% นอกจากนี้ในด้านการจัดการก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการผลิตไหมและจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย