เมื่อก่อนใครจะมารับราชการที่ขุขันธ์
ต้องนำหม้อกับผ้าขาวติดตัวมาด้วย เอาไว้ใส่กระดูกกลับบ้าน เพราะมันกันดาร
เป็นคำกล่าวถึง อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ในอดีต ... แม้ปัจจุบันเอง
เชื่อว่าชื่อนี้คงไม่เคยผ่านหูผ่านตาใครอีกหลาย ๆ คน แต่โบราณบริเวณแถบนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนชาวกวยและเขมร
ซึ่งเรียกรวมว่า เขมรป่าดง มีชุมชนสำคัญคือ บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน
ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ตากะจะ หัวหน้าชุมชน
ทำความดีความชอบตามจับพญาช้างเผือก จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหลวงแก้วสุวรรณ
ก่อนจะยกฐานะบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ในกาลต่อมา
และหลวงแก้วสุวรรณได้เลื่อนเป็น พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เจ้าเมืองขุขันธ์คนแรก
แซนโฎนตา เปรียบได้กับ บุญสารท ของคนไทย
ภาษาเขมรเรียก บนผจุมเบ็ญ แห่บายตะเบิ๊ดตะโบร หรือบุญเดือน 10 ซึ่งเป็นการทำบุญประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ
ซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่สมัยขอมโบราณ
เพื่ออุทิศกุศลบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ซึ่งอยู่รับโทษตามอกุศลกรรมที่ทำไว้ในอบายภูมิ เชื่อว่าในรอบ 1 ปี จะได้รับโอกาสให้ขึ้นไปรับบุญกุศลจากลูกหลานญาติพี่น้องได้ 1 ครั้ง ในเดือน 10 ตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำ
ซึ่งลูกหลานจะได้เตรียมสำรับอาหารข้าวต้มขนมหวาน ผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้หลายอย่าง
รอคอยอยู่ที่บ้าน
.jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น